บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 12 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2
เนื่องจากสัปดาห์นี้ดิฉันลาป่วย จึงขาดการเรียนการสอน แต่ดิฉันได้ศึกษาเรียนรู้เนื้อหาจากเพื่อน นางสาวกมลกาญจน์ มินสาคร สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ, การวัด, เรขาคณิต, พีชคณิต, การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น, ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
- นับจำนวน 1-20 ได้
- เข้าใจหลักการ การนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิค และเลขไทย
- รู้จักค่าของจำนวน เงิน
- สามารถเปรียบเทียบเรียงลำดับ ได้
- รู้จักการรวม และการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก
ปริมาตร เงิน และเวลา
- การเปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จัก เงิน เหรียญ และธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลา และคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ หรือ บอกกลางวัน กลางคืน
3. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
รูปเรขาคณิต สามมิติ และรูปเรขาคณิต สองมิติ
4. มีความรู้ ความเข้าใจแบบรูปของรูป ที่มีรูปร่าง ขนาด สี
ที่สัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ
แผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่องที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)
ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่าน และการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม
จากภาพ เด็กสามารถบอกได้ถึงจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่ายไม่เท่ากัน
จากภาพ เด็กสามารถบอกจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่ายที่วางรวมกันได้
เรื่องที่ 2 การวัด (Measurement)
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
จากภาพการตวงเพื่อวัดปริมาตร การชั่งของเด็กจะไม่มีหน่วย แต่เป็นการเปรียบเทียบความหนัก หรือความเบาได้ รู้จักค่าของเงินเหรียญ และธนบัตร บอกช่วงเวลาในแต่ละวัน ,ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช่บอกเกี่ยวกับวัน เช่น วันนี้ , พรุ่งนี้ , เมื่อวานนี้ เป็นต้น
เรื่องที่ 3 เรขาคณิต (Geometry)
รู้จักการใช้คำศัพท์ ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางรู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ
รูปร่างสามมิติ
การเปลี่ยนแปลง การพับครึ่ง
การรวม เกิดจากการนำมาต่อกัน
เด็กเข้าใจได้ว่า เป็นภาพที่ซ้อนกัน
เรื่องที่ 4 พีชคณิต (Algebra)
เข้าใจแบบรูป และความสัมพันธ์แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความสัมพันธ์กัน ระหว่างวงกลม สีชมพู และสีฟ้า เป็นการจัดวางสลับสี เพื่อหาความสัมพันธ์
เด็กสามารถเข้าใจสิ่งที่สัมพันธ์กันได้
เรื่องที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น (Data Analysis and Probability)
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนชาย กี่คน มีนักเรียนหญิงกี่คน ,หนูมีตากี่ดวง , หนูกับเพื่อนมีขารวมกันกี่ขา เป็นต้น
เรื่องที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
การนำไปประยุกต์ใช้
รูปทรงและรูปร่างต่างๆเป็นสิ่งที่อยู่ในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มีรูปทรงกลม กิ่งไม้มีรูปร่างคดเคี้ยวบ้าง ตรงบ้าง คนเรามีรูปร่าง เสื้อที่เราสวมใส่มีรูปร่างคล้ายตัวของเรา เป็นต้น เมื่อสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีรูปทรงและรูปร่าง จึงมีความจำเป็นที่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเด็ก และคุณครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆเกี่ยวกับรูปทรง รูปร่าง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่อประสมประกอบการสอนคณิตศาสตร์หรือจะเป็นการให้เด็กวาดรูปอย่างอิสระโดยนำรูปทรงเรขาคณิตมาวาดอย่างสร้างสรรค์ตามจินตนาการของตนเองเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปสัตว์ รูปผลไม้ เป็นต้น หรือจะเป็นการแปะรูปทรงเรขาคณิตเป็นรูปต่างๆ
จากภาพด้านบนทั้งสอง เด็กตัดแปะรูปทรงเรขาคณิตเป็นรูปสัตว์ตามจินตนาการ
เด็กๆนั่งทำกิจกรรมรูปทรงเรขาคณิต