วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 26 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีการสอบกลางภาค








วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 19 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีการสอบกลางภาค




   




วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 12 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

    เนื่องจากสัปดาห์นี้ดิฉันลาป่วย จึงขาดการเรียนการสอน แต่ดิฉันได้ศึกษาเรียนรู้เนื้อหาจากเพื่อน นางสาวกมลกาญจน์ มินสาคร สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ, การวัด, เรขาคณิต, พีชคณิต, การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น, ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์

  • นับจำนวน 1-20 ได้ 
  • เข้าใจหลักการ การนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิค และเลขไทย
  • รู้จักค่าของจำนวน เงิน 
  • สามารถเปรียบเทียบเรียงลำดับ ได้
  • รู้จักการรวม และการแยกกลุ่ม

2. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก 

ปริมาตร เงิน และเวลา 
  •  การเปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
  • รู้จัก เงิน เหรียญ และธนบัตร 
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลา และคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ หรือ บอกกลางวัน กลางคืน 

3. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต 

  • ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง 
  • รูปเรขาคณิต สามมิติ และรูปเรขาคณิต สองมิติ

4. มีความรู้ ความเข้าใจแบบรูปของรูป ที่มีรูปร่าง ขนาด สี 

ที่สัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง 



5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ 

แผนภูมิอย่างง่าย 

6. มีทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่องที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)
     ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่าน และการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม


จากภาพ เด็กสามารถบอกได้ถึงจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่ายไม่เท่ากัน 

จากภาพ เด็กสามารถบอกจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่ายที่วางรวมกันได้

เรื่องที่ 2 การวัด (Measurement)
     เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา


จากภาพการตวงเพื่อวัดปริมาตร การชั่งของเด็กจะไม่มีหน่วย แต่เป็นการเปรียบเทียบความหนัก หรือความเบาได้ รู้จักค่าของเงินเหรียญ และธนบัตร บอกช่วงเวลาในแต่ละวัน ,ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช่บอกเกี่ยวกับวัน เช่น วันนี้ , พรุ่งนี้ , เมื่อวานนี้ เป็นต้น

เรื่องที่ 3 เรขาคณิต (Geometry)
     รู้จักการใช้คำศัพท์ ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางรู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ

รูปร่างสามมิติ 


การเปลี่ยนแปลง การพับครึ่ง 


การรวม เกิดจากการนำมาต่อกัน 


เด็กเข้าใจได้ว่า เป็นภาพที่ซ้อนกัน



เรื่องที่ 4 พีชคณิต (Algebra)

   เข้าใจแบบรูป และความสัมพันธ์แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


ความสัมพันธ์กัน ระหว่างวงกลม สีชมพู และสีฟ้า เป็นการจัดวางสลับสี เพื่อหาความสัมพันธ์



เด็กสามารถเข้าใจสิ่งที่สัมพันธ์กันได้

เรื่องที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น (Data Analysis and Probability)
      รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนชาย กี่คน มีนักเรียนหญิงกี่คน ,หนูมีตากี่ดวง , หนูกับเพื่อนมีขารวมกันกี่ขา เป็นต้น 

เรื่องที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
    มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

การนำไปประยุกต์ใช้
     รูปทรงและรูปร่างต่างๆเป็นสิ่งที่อยู่ในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มีรูปทรงกลม กิ่งไม้มีรูปร่างคดเคี้ยวบ้าง ตรงบ้าง คนเรามีรูปร่าง เสื้อที่เราสวมใส่มีรูปร่างคล้ายตัวของเรา เป็นต้น เมื่อสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีรูปทรงและรูปร่าง จึงมีความจำเป็นที่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเด็ก และคุณครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆเกี่ยวกับรูปทรง รูปร่าง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่อประสมประกอบการสอนคณิตศาสตร์หรือจะเป็นการให้เด็กวาดรูปอย่างอิสระโดยนำรูปทรงเรขาคณิตมาวาดอย่างสร้างสรรค์ตามจินตนาการของตนเองเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปสัตว์ รูปผลไม้ เป็นต้น หรือจะเป็นการแปะรูปทรงเรขาคณิตเป็นรูปต่างๆ



 จากภาพด้านบนทั้งสอง เด็กตัดแปะรูปทรงเรขาคณิตเป็นรูปสัตว์ตามจินตนาการ


เด็กๆนั่งทำกิจกรรมรูปทรงเรขาคณิต






วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 5 ธันวาคม พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นวันหยุด วันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี






วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาทั้ง 5 กลุ่มนำเสนอทฤษฎีทั้ง 5 เรื่อง ซึ่งกลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มแรก เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ

     กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นตัวเลขก็มักมีอยู่รอบตัวอีกด้วย เช่น ตัวเลขบนเงินตรา ตัวเลขบนนาฬิกา ฯลฯ เด็กจึงควรได้รับการเรียนการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
จำนวน
    จำนวน หมายถึงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกถึงความมากหรือน้อย
    จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ



การดำเนินการ

     การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ โดยการป้อนค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ การดำเนินการเอกภาค จะใช้ค่าที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งค่า เช่น นิเสธหรือฟังก์ชันตรีโกณมิติ ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่า เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การยกกำลัง

จำนวนและการดำเนินการ

     จำนวนและการดำเนินการ คือ ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง การดำเนินการของจำนวน อัตราส่วน ร้อยละ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง



คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3-5 ปี

1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา

3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 

4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด 

5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย



ตัวอย่าง กิจกรรมการนับจำนวน
     
VDO การนำเสนอ
     
     กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด

การวัด
     การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการจับเวลา/การวัดระยะทาง/การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวมๆกันว่าการวัด เช่น การชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตรหน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล (International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย ISเช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ 
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
     การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยมุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์การเตรียมความพร้อมนั้นรวมถึงการวัด
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
1.เข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาวที่มีหน่วยเป็นเมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร การวัดน้ำหนัก(ชั่ง) ที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม ขีด กรัม และการวัดปริมาตร(ตวง) ที่มีหน่วยเป็นลิตร มิลลิลิตร
2. เข้าใจเกี่ยวกับเงิน และเวลา
3. เลือกใช้เครื่องมือวัดและหน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม
4. บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดในระบบเดียวกันได้
10 มิลลิเมตร (มม.) = 1 เซนติเมตร (ซม.)
100 เซนติเมตร (ซม.) = 1 เมตร (ม.)
1,000 เมตร (ม.) = 1 กิโลเมตร (กม.)

วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
1.ใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานวัดความยาว น้ำหนัก และปริมาตรของสิ่งต่างๆได้
2.บอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที (ช่วง 5 นาที) วัน เดือน ปี และจำนวนเงินได้
3.คาดคะเนความยาว น้ำหนัก และปริมาตรพร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการคาดคะเนกับค่าที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือได้

     กลุ่มที่ 3 เรื่อง พีชคณิต

พีชคณิต
  (คิดค้นโดย อบู จาฟาร์ มูฮาหมัด อิบบู มูซา อัล-คาวารัศมี)เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับ เรขาคณิต และการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน พีชคณิตพื้นฐานจะเริ่มมีสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยศึกษาเกี่ยวกับการบวกลบคูณและหาร ยกกำลัง และการถอดราก พีชคณิตยังคงรวมไปถึงการศึกษาสัญลักษณ์ ตัวแปร และเซ็ต

พีชคณิต คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข ความหมาย คือ แทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลข เลขเฉพาะค่า พีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆในรูปแบบทั่วไปมากกว่า โดยไม่จำเป็นต้องทราบค่าปริมาณนั้นเป็นจำนวนเลขเลย การจัดการทางเลขคณิตได้แก่ การบวก การลบ การคูณ และการหาร

พีชคณิต สำหรับเด็กปฐมวัย
รูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

ตัวอย่าง กิจกรรม
การแยกสี

การแยกรูปร่าง และสี

การแยกขนาด

     กลุ่มที่ 4 เรื่อง เรขาคณิต

ความหมายเรขาคณิต
     เรขาคณิต Geometry ความหมาย คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท สมบัติ และโครงสร้างของเซต ของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้เป็นรูปทรงต่างๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย

ความหมายรูปร่าง
     รูปร่าง หมายถึง เส้นรอบๆภายนอกของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ พืช มีส่วนที่เป็นความกว้างและยาว รูปร่างมี 3 ประเภท คือ
  • รูปร่างของสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ
  • รูปร่างที่คนเราสร้างขึ้นเป็นรูปเรขาคณิต
  • รูปร่างที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้นอย่างอิสระ
ความหมายรูปทรง
     รูปทรง หมายถึง โครงสร้างของวัตถุ ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนาหรือลึก จะปรากฎแก่สายตาให้ความรู้สึกเป็นแท่ง มีเนื้อที่ภายใน วัตถุต่างๆที่อยู่รอบตัวเรามีรูปร่าง และรูปทรง ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์กำหนดขึ้น เด็กทุกคนจะรับรู้สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวจากประสาทสัมผัส และเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของวัตถุนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเข้าใจเรื่องรูปร่างและรูปทรง จะช่วยให้เด็กมีความรู้ความสามารถและทักษะที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง สำคัญอย่างไร?
     คนเราต้องเรียนรู้สิ่งที่ตนเองจะเกี่ยวข้อง เพื่อการพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักรู้ถึงคุณค่าและภัยจากสิ่งเหล่านั้นด้วย รูปทรงและรูปร่างเป็นสิ่งที่อยู่ในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มีรูปทรงกลม เป็นต้น เมื่อสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีรูปทรงและรูปร่าง จึงมีความจำเป็นที่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเด็ก


การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
  • การสอนเรื่องรูปร่างและรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อของตนเอง ช่วยให้เด็กเป็นผู้รู้จักการสังเกต ช่างสงสัยค้นคว้าและแก้ปัญหาได้ต่อไป
  • ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่างและรูปทรง สิ่งต่างๆรอบตัวเรา คนเราตั้งชื่อเรียกเพื่อการสื่อสารเมื่อเด็กได้เห็นและสัมผัสสิ่งเหล่านั้น
  • เด็กได้ฝึกการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมา เด็กจะพัฒนาการคิดตามวัยนับตั้งแต่แรกเกิด สำหรับเด็กที่ย่างเข้าวัย 5 ขวบ เขาสามารถที่จะคิดสร้างอะไรๆจากวัตถุต่างๆเหล่านั้น เช่น มีบล็อกรูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม
  • การส่งเสริมเด็กเรียนรู้จากการเล่นเป็นการตอบสนองเด็กได้ดีตามธรรมชาติเด็ก การเล่นวัตถุที่เป็นรูปทรง ในระยะแรกเด็กบางคนอาจจะคิดทำไม่ได้โดยทันที แต่เด็กมีเพื่อนเล่นเด็กจะได้ดู หรือสังเกตเพื่อนเล่น
  • เด็กได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นคือรูปทรง และวัตถุที่มีรูปร่างต่างๆ เด็กได้เปรียบเทียบเห็นความเหมือน ความแตกต่าง และความคล้าย นำไปสู่การจำแนกประเภท
  • ช่วยตอบสนองความต้องการของเด็กตามธรรมชาติเด็กปฐมวัยจะสนใจเรียนรู้อยู่แล้ว การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำได้คิด
ครูสอนเรื่อง รูปทรง รูปร่าง ให้ลูกที่ไปโรงเรียนอย่างไร?
1.ครูจัดมุมการเรียนรู้สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปร่าง รูปทรง เช่น มุมบล็อก มุมบทบาทสมมติ มุมหนังสือ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น
  • มุมบล็อก ครูจัดบล็อกจากวัสดุหลากหลาย อาจจะเป็นไม้ พลาสติก แผ่นยาง กระดาษแข็ง รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม หลากหลายสี
  • มุมเครื่องเล่นสัมผัส จัดหาวัสดุรูปทรงเรขาคณิตต่างๆให้ได้เล่นหลากหลายลักษณะ เช่น เล่นตัวต่อ เล่นร้อย เล่นเรียง ครูจัดแยกไว้เป็นชุดๆ
  • มุมหนังสือ ครูหาหนังสือเรื่องรูปทรง หรือรูปร่างต่างๆมาให้เด็กอ่านเรื่อง เช่น เรื่องพระอาทิตย์หัวเราะขำอะไร เนื้อเรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์

2.ครูจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรื่อง รูปร่าง รูปทรงในหน่วยต่างๆเด็กได้สังเกตวัสดุที่อยู่รอบตัว จากการดู สังเกตวัสดุแล้วใช้ภาษาที่มีคำศัพท์ เช่น รูปทรง เหมือนกับ..รูปทรงของ..เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ฯลฯ
3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นการฝึกประสาทสัมผัสด้วยผิวสัมผัส เด็กจะได้สืบค้นด้วยตนเอง ได้รู้จักสิ่งต่างๆรวมทั้งสิ่งที่มีรูปทรงและรูปร่าง เพราะเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสสิ่งต่างๆ

     เด็กจะอยู่กับครอบครัวใกล้ชิดพ่อแม่ จึงเป็นหน้าที่ที่พ่อแม่จะเป็นผู้สอนให้ลูกรู้จักเรื่องรูปร่างและรูปทรง เป็นโอกาสที่ดีที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมความรู้ให้ลูกผ่านชีวิตประจำวัน เมื่อเด็กเล่นหรือต้องการรู้ จึงซักถาม สนทนากับพ่อแม่และบุคคลในครอบครัว


     รูปเรขาคณิตสองมิติ เป็นรูปเรขาคณิตทรงสามมิติที่มีฐานหรือหน้าตัดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น รูปทรงกระบอก รูปทรงกลม รูปพีระมิด รูปปริซึม รูปกรวย เป็นต้น 

     กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น




     อาจารย์ให้ทำแบบประเมินกลุ่มตนเองและกลุ่มเพื่อนๆ


การนำไปประยุกต์ใช้
     เราสามารถนำสิ่งของเหลือใช้(ที่ไม่อันตรายต่อเด็ก)นำมาประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านคณิตศาสตร์ได้ รูปทรง รูปร่าง ฯลฯ ทั้งการแยกสี สอนให้เค้านับจำนวนสิ่งของนั้นๆ หรือเรียงจากขนาดเล็ก-ใหญ่,ใหญ่-เล็ก



วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณสอนเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาตร์ เช่น การจำคำศัพท์
  • พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
  • ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. การสังเกต (Observation)
     การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2. การจำแนกประเภท (Classifying)


     การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์


3. การเปรียบเทียบ (Coparing)
    เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ (Ordering)

  • เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง 
  • การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5. การวัด (Measurement)
    

   มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด

6. การนับ (Counting)
   เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจว่าความหมายการนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
     เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด  - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
  • รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง     - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
  • ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด

     กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ตฤณแจกกระดาษรีไซเคิลให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้ทุกคนวาดวงกลมกลางกระดาษเท่าลูกปิงปอง จากนั้นให้แต่ละคนเขียนตัวเลขที่ชอบลงไปในวงกลม ตัวเลข 1-10 และอาจารย์ให้นักศึกษาวาดกลีบดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เราเขียนลงไป
รูปดอกไม้ จากที่เห็นดอกไม้มี 9 กลีบ
     หลังจากนั้น อาจารย์แจกกระดาษสี ให้ทุกคนตัดตกแต่งกลีบดอกไม้ของตนเองอย่างอิสระ
ดอกไม้แสนสวย

พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ : การเรียนการสอนชั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย - Progression in Primary Maths : Teaching and Learning - Early Years Foundation Stage 
รายการตอนนี้เราจะมาดูว่า การเฝ้าสังเกตการณ์ และการวางแผนอย่างรอบคอบ จากครูพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สำหรับเด็กวัยเนิร์สเซอรี และอนุบาลหนึ่งของโรงเรียนประถมเกรทบาร์ ที่เบอร์มิงแฮม อแมนดา แมคเคนนา หัวหน้าครูชั้นเด็กเล็ก เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรจะสนุก และเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ประจำวัน การสอนที่เน้นหลักพึ่งตัวเอง และเรียนแบบเล่นคือหัวใจของการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก ในขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนเกรทบาร์แห่งนี้ จุดสนใจของโรงเรียนในตอนนี้ มุ่งไปที่การส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การจดจำตัวเลข ลำดับที่ของตัวเลข และการคำนวณ ครูพี่เลี้ยงสาธิตให้เราเห็นวิธีประเมินผลเด็ก โดยผ่านทางการเฝ้าสังเกตการณ์วันต่อวัน และนำผลที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการประชุมครู และวางแผนอนาคตต่อไป โรงเรียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าถ้าครูสามารถจูงใจให้เด็ก ๆ สนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้
     การเรียนการสอนครั้งนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้ดี รู้จักแนวทางการนำไปใช้และการสอนมากขึ้น