วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณสอนเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาตร์ เช่น การจำคำศัพท์
  • พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
  • ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. การสังเกต (Observation)
     การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2. การจำแนกประเภท (Classifying)


     การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์


3. การเปรียบเทียบ (Coparing)
    เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ (Ordering)

  • เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง 
  • การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5. การวัด (Measurement)
    

   มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด

6. การนับ (Counting)
   เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจว่าความหมายการนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
     เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด  - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
  • รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง     - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
  • ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด

     กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ตฤณแจกกระดาษรีไซเคิลให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้ทุกคนวาดวงกลมกลางกระดาษเท่าลูกปิงปอง จากนั้นให้แต่ละคนเขียนตัวเลขที่ชอบลงไปในวงกลม ตัวเลข 1-10 และอาจารย์ให้นักศึกษาวาดกลีบดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เราเขียนลงไป
รูปดอกไม้ จากที่เห็นดอกไม้มี 9 กลีบ
     หลังจากนั้น อาจารย์แจกกระดาษสี ให้ทุกคนตัดตกแต่งกลีบดอกไม้ของตนเองอย่างอิสระ
ดอกไม้แสนสวย

พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ : การเรียนการสอนชั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย - Progression in Primary Maths : Teaching and Learning - Early Years Foundation Stage 
รายการตอนนี้เราจะมาดูว่า การเฝ้าสังเกตการณ์ และการวางแผนอย่างรอบคอบ จากครูพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สำหรับเด็กวัยเนิร์สเซอรี และอนุบาลหนึ่งของโรงเรียนประถมเกรทบาร์ ที่เบอร์มิงแฮม อแมนดา แมคเคนนา หัวหน้าครูชั้นเด็กเล็ก เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรจะสนุก และเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ประจำวัน การสอนที่เน้นหลักพึ่งตัวเอง และเรียนแบบเล่นคือหัวใจของการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก ในขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนเกรทบาร์แห่งนี้ จุดสนใจของโรงเรียนในตอนนี้ มุ่งไปที่การส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การจดจำตัวเลข ลำดับที่ของตัวเลข และการคำนวณ ครูพี่เลี้ยงสาธิตให้เราเห็นวิธีประเมินผลเด็ก โดยผ่านทางการเฝ้าสังเกตการณ์วันต่อวัน และนำผลที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการประชุมครู และวางแผนอนาคตต่อไป โรงเรียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าถ้าครูสามารถจูงใจให้เด็ก ๆ สนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้
     การเรียนการสอนครั้งนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้ดี รู้จักแนวทางการนำไปใช้และการสอนมากขึ้น



                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น