วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาทั้ง 5 กลุ่มนำเสนอทฤษฎีทั้ง 5 เรื่อง ซึ่งกลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มแรก เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ

     กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมากเนื่องจากเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นตัวเลขก็มักมีอยู่รอบตัวอีกด้วย เช่น ตัวเลขบนเงินตรา ตัวเลขบนนาฬิกา ฯลฯ เด็กจึงควรได้รับการเรียนการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
จำนวน
    จำนวน หมายถึงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกถึงความมากหรือน้อย
    จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ



การดำเนินการ

     การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ โดยการป้อนค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ การดำเนินการเอกภาค จะใช้ค่าที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งค่า เช่น นิเสธหรือฟังก์ชันตรีโกณมิติ ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่า เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การยกกำลัง

จำนวนและการดำเนินการ

     จำนวนและการดำเนินการ คือ ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง การดำเนินการของจำนวน อัตราส่วน ร้อยละ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง



คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3-5 ปี

1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม

2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา

3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 

4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด 

5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย



ตัวอย่าง กิจกรรมการนับจำนวน
     
VDO การนำเสนอ
     
     กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด

การวัด
     การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการจับเวลา/การวัดระยะทาง/การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวมๆกันว่าการวัด เช่น การชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตรหน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล (International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย ISเช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ 
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
     การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยมุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์การเตรียมความพร้อมนั้นรวมถึงการวัด
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
1.เข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาวที่มีหน่วยเป็นเมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร การวัดน้ำหนัก(ชั่ง) ที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม ขีด กรัม และการวัดปริมาตร(ตวง) ที่มีหน่วยเป็นลิตร มิลลิลิตร
2. เข้าใจเกี่ยวกับเงิน และเวลา
3. เลือกใช้เครื่องมือวัดและหน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม
4. บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดในระบบเดียวกันได้
10 มิลลิเมตร (มม.) = 1 เซนติเมตร (ซม.)
100 เซนติเมตร (ซม.) = 1 เมตร (ม.)
1,000 เมตร (ม.) = 1 กิโลเมตร (กม.)

วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
1.ใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานวัดความยาว น้ำหนัก และปริมาตรของสิ่งต่างๆได้
2.บอกเวลาเป็นนาฬิกาและนาที (ช่วง 5 นาที) วัน เดือน ปี และจำนวนเงินได้
3.คาดคะเนความยาว น้ำหนัก และปริมาตรพร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการคาดคะเนกับค่าที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือได้

     กลุ่มที่ 3 เรื่อง พีชคณิต

พีชคณิต
  (คิดค้นโดย อบู จาฟาร์ มูฮาหมัด อิบบู มูซา อัล-คาวารัศมี)เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับ เรขาคณิต และการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน พีชคณิตพื้นฐานจะเริ่มมีสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยศึกษาเกี่ยวกับการบวกลบคูณและหาร ยกกำลัง และการถอดราก พีชคณิตยังคงรวมไปถึงการศึกษาสัญลักษณ์ ตัวแปร และเซ็ต

พีชคณิต คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข ความหมาย คือ แทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลข เลขเฉพาะค่า พีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆในรูปแบบทั่วไปมากกว่า โดยไม่จำเป็นต้องทราบค่าปริมาณนั้นเป็นจำนวนเลขเลย การจัดการทางเลขคณิตได้แก่ การบวก การลบ การคูณ และการหาร

พีชคณิต สำหรับเด็กปฐมวัย
รูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

ตัวอย่าง กิจกรรม
การแยกสี

การแยกรูปร่าง และสี

การแยกขนาด

     กลุ่มที่ 4 เรื่อง เรขาคณิต

ความหมายเรขาคณิต
     เรขาคณิต Geometry ความหมาย คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท สมบัติ และโครงสร้างของเซต ของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้เป็นรูปทรงต่างๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย

ความหมายรูปร่าง
     รูปร่าง หมายถึง เส้นรอบๆภายนอกของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ พืช มีส่วนที่เป็นความกว้างและยาว รูปร่างมี 3 ประเภท คือ
  • รูปร่างของสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ
  • รูปร่างที่คนเราสร้างขึ้นเป็นรูปเรขาคณิต
  • รูปร่างที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้นอย่างอิสระ
ความหมายรูปทรง
     รูปทรง หมายถึง โครงสร้างของวัตถุ ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนาหรือลึก จะปรากฎแก่สายตาให้ความรู้สึกเป็นแท่ง มีเนื้อที่ภายใน วัตถุต่างๆที่อยู่รอบตัวเรามีรูปร่าง และรูปทรง ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์กำหนดขึ้น เด็กทุกคนจะรับรู้สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวจากประสาทสัมผัส และเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของวัตถุนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กเข้าใจเรื่องรูปร่างและรูปทรง จะช่วยให้เด็กมีความรู้ความสามารถและทักษะที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง สำคัญอย่างไร?
     คนเราต้องเรียนรู้สิ่งที่ตนเองจะเกี่ยวข้อง เพื่อการพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักรู้ถึงคุณค่าและภัยจากสิ่งเหล่านั้นด้วย รูปทรงและรูปร่างเป็นสิ่งที่อยู่ในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ มีรูปทรงกลม เป็นต้น เมื่อสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีรูปทรงและรูปร่าง จึงมีความจำเป็นที่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเด็ก


การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
  • การสอนเรื่องรูปร่างและรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อของตนเอง ช่วยให้เด็กเป็นผู้รู้จักการสังเกต ช่างสงสัยค้นคว้าและแก้ปัญหาได้ต่อไป
  • ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่างและรูปทรง สิ่งต่างๆรอบตัวเรา คนเราตั้งชื่อเรียกเพื่อการสื่อสารเมื่อเด็กได้เห็นและสัมผัสสิ่งเหล่านั้น
  • เด็กได้ฝึกการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมา เด็กจะพัฒนาการคิดตามวัยนับตั้งแต่แรกเกิด สำหรับเด็กที่ย่างเข้าวัย 5 ขวบ เขาสามารถที่จะคิดสร้างอะไรๆจากวัตถุต่างๆเหล่านั้น เช่น มีบล็อกรูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม
  • การส่งเสริมเด็กเรียนรู้จากการเล่นเป็นการตอบสนองเด็กได้ดีตามธรรมชาติเด็ก การเล่นวัตถุที่เป็นรูปทรง ในระยะแรกเด็กบางคนอาจจะคิดทำไม่ได้โดยทันที แต่เด็กมีเพื่อนเล่นเด็กจะได้ดู หรือสังเกตเพื่อนเล่น
  • เด็กได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นคือรูปทรง และวัตถุที่มีรูปร่างต่างๆ เด็กได้เปรียบเทียบเห็นความเหมือน ความแตกต่าง และความคล้าย นำไปสู่การจำแนกประเภท
  • ช่วยตอบสนองความต้องการของเด็กตามธรรมชาติเด็กปฐมวัยจะสนใจเรียนรู้อยู่แล้ว การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำได้คิด
ครูสอนเรื่อง รูปทรง รูปร่าง ให้ลูกที่ไปโรงเรียนอย่างไร?
1.ครูจัดมุมการเรียนรู้สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปร่าง รูปทรง เช่น มุมบล็อก มุมบทบาทสมมติ มุมหนังสือ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น
  • มุมบล็อก ครูจัดบล็อกจากวัสดุหลากหลาย อาจจะเป็นไม้ พลาสติก แผ่นยาง กระดาษแข็ง รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม หลากหลายสี
  • มุมเครื่องเล่นสัมผัส จัดหาวัสดุรูปทรงเรขาคณิตต่างๆให้ได้เล่นหลากหลายลักษณะ เช่น เล่นตัวต่อ เล่นร้อย เล่นเรียง ครูจัดแยกไว้เป็นชุดๆ
  • มุมหนังสือ ครูหาหนังสือเรื่องรูปทรง หรือรูปร่างต่างๆมาให้เด็กอ่านเรื่อง เช่น เรื่องพระอาทิตย์หัวเราะขำอะไร เนื้อเรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์

2.ครูจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรื่อง รูปร่าง รูปทรงในหน่วยต่างๆเด็กได้สังเกตวัสดุที่อยู่รอบตัว จากการดู สังเกตวัสดุแล้วใช้ภาษาที่มีคำศัพท์ เช่น รูปทรง เหมือนกับ..รูปทรงของ..เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ฯลฯ
3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นการฝึกประสาทสัมผัสด้วยผิวสัมผัส เด็กจะได้สืบค้นด้วยตนเอง ได้รู้จักสิ่งต่างๆรวมทั้งสิ่งที่มีรูปทรงและรูปร่าง เพราะเด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสสิ่งต่างๆ

     เด็กจะอยู่กับครอบครัวใกล้ชิดพ่อแม่ จึงเป็นหน้าที่ที่พ่อแม่จะเป็นผู้สอนให้ลูกรู้จักเรื่องรูปร่างและรูปทรง เป็นโอกาสที่ดีที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมความรู้ให้ลูกผ่านชีวิตประจำวัน เมื่อเด็กเล่นหรือต้องการรู้ จึงซักถาม สนทนากับพ่อแม่และบุคคลในครอบครัว


     รูปเรขาคณิตสองมิติ เป็นรูปเรขาคณิตทรงสามมิติที่มีฐานหรือหน้าตัดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น รูปทรงกระบอก รูปทรงกลม รูปพีระมิด รูปปริซึม รูปกรวย เป็นต้น 

     กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น




     อาจารย์ให้ทำแบบประเมินกลุ่มตนเองและกลุ่มเพื่อนๆ


การนำไปประยุกต์ใช้
     เราสามารถนำสิ่งของเหลือใช้(ที่ไม่อันตรายต่อเด็ก)นำมาประกอบการเรียนการสอนเกี่ยวกับด้านคณิตศาสตร์ได้ รูปทรง รูปร่าง ฯลฯ ทั้งการแยกสี สอนให้เค้านับจำนวนสิ่งของนั้นๆ หรือเรียงจากขนาดเล็ก-ใหญ่,ใหญ่-เล็ก



วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์นี้อาจารย์ตฤณสอนเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาตร์ เช่น การจำคำศัพท์
  • พัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
  • ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. การสังเกต (Observation)
     การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย

2. การจำแนกประเภท (Classifying)


     การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์


3. การเปรียบเทียบ (Coparing)
    เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ (Ordering)

  • เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง 
  • การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5. การวัด (Measurement)
    

   มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด

6. การนับ (Counting)
   เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจว่าความหมายการนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
     เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด  - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
  • รูปร่าง - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง     - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
  • ความเร็ว - เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ - เย็น ร้อน อุ่น เดือด

     กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ตฤณแจกกระดาษรีไซเคิลให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้ทุกคนวาดวงกลมกลางกระดาษเท่าลูกปิงปอง จากนั้นให้แต่ละคนเขียนตัวเลขที่ชอบลงไปในวงกลม ตัวเลข 1-10 และอาจารย์ให้นักศึกษาวาดกลีบดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เราเขียนลงไป
รูปดอกไม้ จากที่เห็นดอกไม้มี 9 กลีบ
     หลังจากนั้น อาจารย์แจกกระดาษสี ให้ทุกคนตัดตกแต่งกลีบดอกไม้ของตนเองอย่างอิสระ
ดอกไม้แสนสวย

พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ : การเรียนการสอนชั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย - Progression in Primary Maths : Teaching and Learning - Early Years Foundation Stage 
รายการตอนนี้เราจะมาดูว่า การเฝ้าสังเกตการณ์ และการวางแผนอย่างรอบคอบ จากครูพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร สำหรับเด็กวัยเนิร์สเซอรี และอนุบาลหนึ่งของโรงเรียนประถมเกรทบาร์ ที่เบอร์มิงแฮม อแมนดา แมคเคนนา หัวหน้าครูชั้นเด็กเล็ก เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรจะสนุก และเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ประจำวัน การสอนที่เน้นหลักพึ่งตัวเอง และเรียนแบบเล่นคือหัวใจของการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก ในขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนเกรทบาร์แห่งนี้ จุดสนใจของโรงเรียนในตอนนี้ มุ่งไปที่การส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การจดจำตัวเลข ลำดับที่ของตัวเลข และการคำนวณ ครูพี่เลี้ยงสาธิตให้เราเห็นวิธีประเมินผลเด็ก โดยผ่านทางการเฝ้าสังเกตการณ์วันต่อวัน และนำผลที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการประชุมครู และวางแผนอนาคตต่อไป โรงเรียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าถ้าครูสามารถจูงใจให้เด็ก ๆ สนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้
     การเรียนการสอนครั้งนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้ดี รู้จักแนวทางการนำไปใช้และการสอนมากขึ้น



                            

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2


     เนื่องจากสัปดาห์นี้ดิฉันลาป่วย จึงขาดการเรียนการสอน แต่ดิฉันได้ศึกษาเรียนรู้เนื้อหาจากเพื่อน นางสาวกมลกาญจน์ มินสาคร ว่าสัปดาห์นี้ อาจารย์ตฤณได้ให้ความหมายของ คณิตศาสตร์ หมายถึง ระบบการคิดของมนุษย์ อย่างมีเหตุผล เพื่อศึกษา และอธิบายความสำพันธ์ ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้สัญลักษณ์ืการพูด การเขียน และการเรียนรู้



ความสำคัญของคณิตศาสตร์ 



1. เกี่ยวข้อง และสำพันธ์กับชีวิตประจำวัน
2.ส่งเสริมกระบวนการคิด และแก้ปัญหา โดยเฉพาะหลักการทางคณิตศาสตร์
3.เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล
4.เป็นพื้นฐาน ในการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี 

ทฤษฎีสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามความคิดของเพียร์เจต์

1. ขั้นพัฒนาด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิน- 2ปี

  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
  • สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกลักษณะของวัตถุได้
2. ขั้นเตรียมการคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage) 2-7 ปี
  • ใช้ภาษาพูด แสดงความรู้ความคิด 
  • เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว 
  • เล่นบทบาทสมมุติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย 
  • เด็กจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด 
  • ไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพกายภาพ เปลี่ยนแปลง เด็กก็ไม่สามารถ สั่งสมความคิดไว้ได้ 

การอนุรักษ์ Conservation

เด็กสามารถพัฒนา การอนุรักษ์ได้โดย

- การนับ

- การจับคู่ หนึ่ง ต่อ หนึ่ง 
- การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร 
- เรียงลำดับ 
- จัดกลุ่ม
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ 
- ใช้คำถามปลายเปิด 
- เชื่อมโยงคณิตศาสตร์ ในชีวิตประจำวัน


การนำไปประยุกต์ใช้

    การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่การเขียนบนกระดาน เช่น 1 +1 = 2 เพราะเด็กจะเข้าใจจากสิ่งที่เขาเห็น การเรียนรู้ที่ดีจึงควรให้เด็กได้ทดลอง และสัมผัสจริง




วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

     สัปดาห์แรกของการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ตฤณแจกเอกสารแนวการสอน (Course Syllabus) ให้นักศึกษาทุกคน พร้อมทั้งอธิบายความหมายและรายละเอียดของวิชานี้ให้นักศึกษาฟัง รวมทั้งชี้แจงเกณฑ์การประเมินผล จากนั้นอาจารย์ตฤณแจกกระดาษสีชมพูเอาไว้ปั๊มลงเวลาเรียน (ทุกครั้งที่เข้าเรียนของแต่ละสัปดาห์)ซึ่งมีหน้าตาแบบรูปด้านล่างนี้


   หลังจากนั้นอาจารย์ตฤณได้แจกกระดาษคงละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาทุกคนทำ My Mapping เขียนสรุปตามความเข้าใจของตนเองก่อนเรียนเกี่ยวกับ วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                    

                    ซึ่งดิฉันเขียนตามความเข้าใจของตนเองดังนี้
  • ความหมายการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ ครูผู้สอนผลิตสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กมาสื่อการสอนให้เด็กมีประสบการณ์ มีทักษะการคิด การคำนวณ
  • ผลิตสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          จำนวนนับ
          รูปทรง
          ปริมาณ
          บวก, ลบ ตัวเลข
          เกมการศึกษา
  • การจัดมุมประสบการณ์
    จัดมุมคณิตศาสตร์ มีอุปกรณ์การนับตัวเลข มีลูกคิด มีตราชั่ง มีเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และการจัดมุมควรมีพื้นที่กว้างขวาง มีโต๊ะเล็กๆ มีที่นั่งสำหรับเพียงพอ 5-6 คนขึ้นไป และอากาศถ่ายเท
  • สอนให้เด็กรู้จักการประหยัด การใช้เงิน เวลาไปซื้อของ ควรสอนเขาคิดเงินเป็นการสอนคณิตศาสตร์ไปในตัว

การนำไปประยุกต์ใช้
      ทำให้เราได้ใช้ความคิด และใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ในการตกแต่งงาน