วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 30 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2


     นำเสนอสื่อการเรียนการสอน วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มดิฉันนำเสนอ สื่อเกมนับจำนวนสัตว์
เกมนับจำนวนสัตว์
น้องโดนัท อายุ 5 ปี อนุบาลชั้นปีที่ 3
วิธีการเล่น 
1. ครูให้เด็กหาตัวเลข 1-5 จากภาพ แล้วนำไปใส่ช่องบล็อก 
2. เด็กนับจำนวนสัตว์ในภาพต่างๆ 
3. ให้เด็กๆหาภาพสัตว์ที่มีจำนวนตรงกับภาพตัวเลขนั้นๆ 
4.ให้เด็กหยิบภาพสัตว์ต่างๆตามจำนวนไปใส่ไว้ข้างหลังตัวเลข 

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร 
     เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 (อายุ 5 ปี) มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาสูง อธิบายการเล่นเกมเพียงแค่ครั้งเดียว เด็กสามารถเข้าใจ รับรู้ได้รวดเร็ว และทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ขณะที่เล่นนั้น เด็กอ่านออกเสียงตัวเลขไปด้วย เวลาหาภาพสัตว์เด็กก็จะพูดออกมาว่านี่คือตัวอะไร เมื่อเราถามว่าภาพนั้นมีสัตว์กี่ตัวค่ะ? เด็กสามารถตอบกลับมาได้ถูกต้อง 

ปัญหาที่พบ 
     ไม่พบปัญหา เพราะ เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีความจำที่ดี เด็กสามารถอ่านตัวเลข 1-5และนับจำนวนสัตว์ในภาพได้ถูกต้องทั้งหมด 

สรุป 
     เด็กสามารถนับตัวเลขปากเปล่าได้ บอกจำนวนสัตว์ในภาพต่างๆ โดยการนับ เด็กเกิดการเรียนรู้การนับจำนวน การอ่านตัวเลข ทั้งเรียนรู้สิ่งรอบตัว ธรรมชาติ รู้จักสัตว์ต่างๆ ในภาพ เด็กได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม

     การนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของกลุ่มอื่นๆมีทั้งหมด 20 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีการนำเสนอไม่เหมือนกัน บางกลุ่มนำเสนอแบบ Powerpoint หรือ แบบ Paper แตกต่างกันไป (ดิฉันอาจรวบรวมเนื้อหาไม่ครบทุกกลุ่ม เพราะ บางกลุ่มไม่มีเนื้อหา หรือ ไม่สามารถนำเนื้อหามาได้ครบถ้วน ดิฉันขออภัย ณ ที่นี้ด้วย)

เกมโดมิโน
วิธีการเล่น
1.ให้เด็กนั่งเป็นวงกลม
2.แจกโดมิโนให้เด็กเท่าๆกัน ประมาณ 4-5 ตัวต่อกัน
3.คว่ำโดมิโนที่เหลือ แล้ววางชิ้นเริ่มต้นไว้ตรงกลาง จากนั้นให้เด็กคนแรกที่เริ่มต้นเล่นเกม จะต้องต่อโดมิโนของตัวเองที่ตรงกับโดมิโนที่กำหนดให้ เช่น ถ้าโดมิโนมีรูปสามเหลี่ยมสีส้มกับรูปสี่เหลี่ยมสีแดง เด็กจะต้องต่อรูปสามเหลี่ยมสีส้มกับรูปสี่เหลี่ยมสีแดง
4.เด็กคนต่อไปก็จะต้องวางโดมิโนของตัวเองให้ตรงกับโดมิโนที่วางอยู่โดยวางต่อชิ้นสุดท้ายของแต่ละข้าง
5.ถ้าเด็กคนใดไม่มีโดมิโนที่จะต่อแล้ว ก็ให้จับโดมิโนที่เหลืออยู่มาต่อ
6.เด็กก็จะเล่นไปเรื่อยๆ ถ้าเด็กคนใดต่อโดมิโนหมดก่อนก็เป็นผู้ชนะ

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร 
     ในขณะที่เล่นเด็กมีความสนใจและสนุกสนานมากตอนที่เด็กต่อเสร็จเด็กแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดว่าเด็กดีใจที่ทำสำเร็จ ทั้งยิ้ม และหัวเราะ เด็กก็อยากจะเล่นโดมิโนอีก

ประโยชน์การเล่นเกมโดมิโน
  • เด็กจะได้รู้จักรูปร่างต่างๆ เช่น วงกลม ครึ่งวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลียม
  • ทำให้เด็กได้รู้จักการแยกแยะประเภทของรูปร่างต่างๆ และสีได้
  • ฝึกให้เด็กสังเกต เด็กจะต้องรู้จักสังเกต เช่น รูปสี่เหลี่ยมสีแดงต้องต่อกับรูปสี่เหลี่ยมสีแดงเท่านั้น
  • ทำให้เด็กได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้
รูปกิจกรรม

เกมลูกคิดสายรุ้ง
วิธีการเล่น
1.นำฝาน้ำสีต่างๆมาใส่ลงในเสาที่มีให้โดยที่หน้าเสานั้นจะมีสีและตัวเลขบอกอยู่ว่า ลูกคิดสีอะไรและจะใส่ฝาลูกคิดทั้งหมดกี่ฝา

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร
1. เมื่อเด็กได้เล่นลูกคิดสายรุ้งแล้วเด็กสามารถแยกสีต่างๆของลูกคิดได้อย่างถูกต้อง
2. เด็กมีการคิดและนับจำนวนของฝาลูกคิดได้ว่ามีจำนวนตั้งแต่ 1-10
3. เด็กได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสมือและตา

สรุป
     ลูกคิดสายรุ้งเป็นเกมการศึกษาที่นำวัสดุเหลือใช้นำมาทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้งโดยการนำฝาน้ำสีสันต่างๆมาใช้เป็นลูกคิดนั้นเอง และใช้ไม้ที่เหลือจากการทำบ้านมาเป็นฐานลูกคิด ลูกคิดสายรุ้งชิ้นนี้สามารถทำฝึกให้เด็กได้มีการคิดวิเคราะห์และแยกสีต่างๆของฝาน้ำ ได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ และยังเป็นสื่อที่ช่วยทบทวนความจำด้านตัวเลข 1-10ให้เด็กได้มีการนับตามจำนวนของฝาทั้งหมดที่มี เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3ขวบขึ้นไปสามารถเล่นได้ค่ะ แถมยังช่วยฝึกไหวพริบของเด็กๆได้ดีอีกด้วย


เกมโยนแล้วนับ ลูกเต๋าน่ารู้
วิธีการเล่น
1.ให้นักเรียนโยนลูกเต๋า
2.เมื่อเด็กโยนลูกเต๋าแล้ว ให้เด็กนับจำนวนรูปภาพที่อยู่บนลูกเต๋า
3.ให้เด็กตอบจำนวนที่เด็กนับได้ ถ้าเด็กตอบถูกคุณครูจะมีรางวัลให้

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร
1. ได้กล้ามเนื้อเล็กและทักษะการประสานมือกับตา
2. เด็กเกิดความสนุกสนาน
3. เด็กมีปฏิสัมพันธ์ดีกับคุณครู
4. เด็กได้คิด ได้นับเลข 1-6

ปัญหาที่พบ
    สื่อไม่สามารถโดนน้ำได้ เพราะจะทำให้กระดาษเปียกชื้น

สรุป
   เด็กอายุ 4ปี สามารถเล่นสื่อได้ นับเลขได้ตามจำนวนที่กำหนด


เกมบอกเลขนับจำนวน
ภาพขณะเด็กเล่นเกม

เกมเรียงเลขพาเพลิน
วิธีการเล่น
     ให้เด็กจับคู่ตัวเลขกับจำนวนชิ้นของรูปทรง ให้เท่ากันในช่องขวามือกับเลขที่อยู่ในช่องซ้ายมือ ด้วยวิธีการนับ

เมื่อให้เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร
1.เด็กมีความสนใจในสื่อที่นำมาให้เล่นมาก
2.ได้ฝึกกล้ามเนื้อเล็กและทักษะการประสานระหว่างมือกับตา
3.เมื่อเด็กเล่นได้สำเร็จเด็กมีความภูมิใจและดีใจมาก
4.เด็กได้ฝึกการนับซ้ำไปซ้ำมาจนเกิดความชำนาญมากขึ้น
5.เด็กรู้จักในเรื่องของรูปทรงมากขึ้น

ปัญหาที่พบ
1.เด็กไม่ค่อยมีสมาธิ
2.เมื่อเด็กเล่นตอนแรกเด็กจะยังนับบเลขไม่ค่อยคล่อง ทำให้เด็กอารมณ์ไม่ค่อยดี
3.เด็กมีการสับสนเรื่องรูปทรง เพราะมีรูปสี่เหลี่ยมหลายชนิดอยู่ในเกม

สรุป
  เกมเรียงเลขพาเพลิน เป็นเกมที่ฝึกให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐานมากขึ้น มีการเรียนรู้เรื่องของรูปทรงต่าง ได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและทักษะการประสานระหว่างมือกับตา เกมเรียงเลขพาเพลินเหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี

เกมฉันคืออะไร

เกมกล่องจับคู่ภาพกับตัวเลข

เกมนับหัวใจใส่ตัวเลข

เกมเลขหรรษามหาสนุก
วิธีการเล่น
1.นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาวางให้เด็ก
2.ให้เด็กหยิบไม้หนีบที่มีตัวเลขมาหนีบให้ตรงกับจำนวนสามเหลี่ยมในแต่ละช่องที่ติดไว้
3.เมื่อเด็กต้องการติดช่องไหนให้หมุนวงล้อตามช่องที่ต้องการ

เกมคณิต...ลองคิดดู

เกมเรียงลำดับของรูปทรง

เกมรูปทรงเรขาคณิต

เกมนาฬิกาสัตว์

เกมรูปทรงมิติ

เกมสิงห์สาราสัตว์
วิธีการเล่น
1.ครูจะจับรูปภาพที่เหมือนกันและแยกประเภทของสัตว์ให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก่อน
2.คุณครูจับแยกรูปภาพสัตว์ให้คละกัน
3.ให้เด็กนำภาพสัตว์ที่เป็นประเภทเดียวกันมาวางเป็นกลุ่มให้ครบทุกชนิด

ปัญหาที่พบ
     ต้องอธิบายการเล่นให้เด็กฟัง 2 รอบ เด็กถึงจะเข้าใจและสามารถเล่นได้อย่างถูกวิธี

สรุป
     เมื่อให้เด็กเล่นเด็กมีความสุขและสนุกสนานกับการเล่น ได้รู้จักสัตว์หลายชนิด ถ้าฝึกเล่นบ่อยๆจะทำให้เด็กมีทักษะในการจับคู่และแยกประเภทได้ดียิ่งขึ้น

เกมนับจำนวนเสื้อผ้า

เกมบ้านหรรษา

เกมโดนิโน
วิธีการเล่น
     วางโดมิโนทั้งหมดคว่ำหน้าด้านตัวเลขลงบนโต๊ะ และผสมตัวกันให้ทั่วหยิบตัวโดมิโนขึ้นมาคนละ 4ตัว ผู้เล่นคนที่เด็กที่สุดหยิบโดมิโนขึ้นมา 1 ตัวและวางลงบนโต๊ะเพื่อตั้งแถว (โดยหงายด้านตัวเลขขึ้น)หากเขามีตัวโดมิโนที่มีลักษณะะเหมือนกัน ให้นำลงมาวางต่อจากแถวตั้งต้น หากไม่มีให้หยิบ 1ตัวจากกองกลาง ถ้าหยิบแล้วยังไม่มี ให้เป็นคิวของคนถัดไปทางซ้ายมือผู้เล่นสามารถเลือกต่อทางด้านใดด้านหนึ่งของแถวก็ได้ หากมีตัวที่เหมือนกันเมื่อใดที่ไม่มีตัวเหมือนให้หยิบจากกองกลาง 1 ชิ้นทุกครั้ง

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กสามารถเรียนรู้จำนวนต่างๆบนตัวโดมิโน
2.ฝึกการสังเกต เด็กจะต้องสังเกตว่าจำนวนต่อกับจำนวนหรือตัวเลขที่เท่ากันเท่านั้น
3.พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
4.ส่งเสริมการคิดของเด็ก
5.ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม เพราะเวลาเล่นเด็กต้องเล่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
6.ฝึกความมีระเบียบวินัย เมื่อเล่นเสร็จเด็กจะต้องรู้จักเก็บของเข้าที่

เกมสัตว์น้อยชวนนับ

     สื่อที่ดิฉันชื่นชอบที่สุด คือ เกมลูกคิดสายรุ้ง เพื่อนมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำ นำวัสดุสิ่งของที่เหลือใช้มาประยุกต์ทำเป็นสื่อคณิศาสตร์ได้อย่างลงตัวและสวยงาม

การนำไปประยุกต์ใช้
     เราสามารถนำวัสดุที่เหลือใช้มาประยุกต์ทำสื่อได้หลายแบบ และสื่อที่เพื่อนนำเสนอไปในแต่ละกลุ่มสามารถนำไปสอนกับเด็กได้จริง ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับวิชาอื่นๆ และเราสามารถดัดแปลงสื่อให้มีความแปลกใหม่ยิ่งขึ้นไปอีก

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บันมึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 23 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2


     วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการเขียนแผน และฝึกให้นักศึกษาทุกคนเขียนแผน จากนั้นให้แบ่งกลุ่มละ 4-5คน ซึ่งให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนขึ้นมา คิดกิจกรรมโดยนำคณิตศาสตร์สอดแทรกเข้าไป (เน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)
  กลุ่มของดิฉันเขียนแผน กิจกรรม ลูกโป่งหรรษา โดยกิจกรรมนี้จะสอนเด็กในเรื่อง พีชคณิต ความสัมพันธ์ของสี ซึ่งเหมาะกับเด็กอายุ 4-5ปี เด็กในวัยนี้เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม ลูกโป่งหรรษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่
2. เพื่อพัฒนาการคิด การแยกแยะ
3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและคุณครู
4. เพื่อให้เด็กมีอารมณ์ที่ดี ร่าเริง แจ่มใส

ประสบการณ์สำคัญ
1. เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. เด็กสังเกตและแยกแยะสีของลูกโป่งได้
สาระที่ควรเรียนรู้
  • สีฟ้า
  • สีชมพู
  • สีส้ม
  • สีเขียว
  • สีม่วง
กิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูนำกล่องสีทั้ง 5 กล่อง มาวางเรียงเป็นแถว
2. ครูนำลูกโป่งมาวางบนพื้นที่ว่างโดยคละสีกัน
3.ครูให้เด็กจำแนกสีลูกโป่ง โดยการหยิบลูกโป่งที่มีสีเดียวกันกับกล่องมาใส่กล่องได้ถูกต้อง


สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. กล่องสี
2. ลูกโป่ง

การวัดและประเมินผล
  • สังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็ก
การบูรณาการ
1. นับลูกโป่งแต่ละสีได้
2.เปรียบเทียบจำนวนของลูกโป่งแต่ละสี สีไหนมากที่สุด-น้อยที่สุด
3. เรียงลำดับสีมากไปน้อย, น้อยไปมาก

     เมื่อเขียนแผนเป็นกลุ่มเสร็จแล้ว อาจารย์ตฤณแจกกระดาษให้คนละ 1แผ่น ให้แต่ละคนคิดกิจกรรมเอง เขียนแผนเป็นรายบุคคล ซึ่งดิฉันเขียนแผน กิจกรรม รูปทรงหรรษา โดยกิจกรรมนี้จะสอนเด็กในเรื่องเรขาคณิต รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม ซึ่งเหมาะกับเด็กอายุ 4-5ปี เด็กในวัยนี้รู้จักจำแนก วงกลม สี่เหลี่ยมมุมฉาก สามเหลี่ยม ได้แล้ว


                     แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม รูปทรงหรรษา
 วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
2. เพื่อพัฒนาการคิด การจำแนกรูปทรงเรขาคณิต
3. มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนและครู
4. เพื่อให้เด็กมีอารมณ์ที่ดี ผ่อนคลาย

ประสบการณ์สำคัญ
1. เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมือ
2. เด็กสังเกตและจำแนก รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม
สาระที่ควรเรียนรู้
รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม

กิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูนำกระดาษที่ตัดเป็นรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นสีเดียวกันทั้งหมด) มาแปะลงบนพื้นหลายๆอัน ไม่จำกัด
2. ครูเตรียมถุงทราย (ถุงขนาดพอดี)
3. ให้เด็กเข้าแถวเรียงหน้ากระดาน
4. นำถุงทรายให้เด็ก
5. ครูถามเด็กว่าไหน รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม ค่ะ? ให้เด็กๆโยนถุงทรายลงไปที่รูปนั้นๆ

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. กระดาษ รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม
2. ถุง (ถุงใส่กับข้าวไว้สำหรับใส่ทราย)
3. ทราย

การวัดและประเมินผล
  • สังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็ก การจำแนกรูปทรง
การบูรณาการ
1. เปรียบเทียบจำนวนรูปทรง รูปไหนมากที่สุด-น้อยที่สุด
2. รู้จัก รูปทรงเรขาคณิต


การนำไปประยุกต์ใช้

     การเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์นั้น กิจกรรมที่จะให้เด็กทำ ต้องไม่น่าเบื่อ ไม่ยากจนเกินไป การจะนำคณิตศาสตร์เข้ามาสอดแทรกในกิจกรรม เรื่องที่จะสอนต้องเหมาะกับช่วงวัยของเด็ก และควรเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น วันนี้จะสอนเด็กเกี่ยวกับพีชคณิต เลือกสอนเรื่องของขนาด เป็นต้น และกิจกรรม ลูกโป่งหรรษา สามารถนำไปประยุกต์เข้าร่วมกับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งได้อีกด้วย




วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 16 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:20 น. ห้อง 234 อาคาร 2

         อาจารย์ตฤณแจกเอกสาร ตัวชี้้วัดและสาระการเรียนรู้ 



     จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5 คน ทำกิจกรรม โดยแจกอุปกรณ์ต่างๆ และแบบวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม อาจารย์ให้นักศึกษาดูรูปหนอนที่เด็กอนุบาลทำขึ้น และสั่งให้นักศึกษาทำรูปหนอนเหมือนกันแต่สร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างอิสระเสรี โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ไม่จำเป็นต้องวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เท่านั้น


ตัดรูปทรงวงกลม เพื่อทำเป็นตัวหนอน

     เมื่อตัดรูปทรงเรขาคณิตที่เราต้องการเรียบร้อยแล้ว นำมาจัดเรียงเป็นตัวหนอนตามแนวที่เราต้องการให้หนอนมีลักษณะเคลื่อนไหวแบบใด จากนั้นตกแต่งตามใจชอบ

หนอนน้อยของกลุ่มฉัน

     พอถึงเวลา 10 โมงเช้าอาจารย์ให้ทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกไปนำเสนอภาพหนอน เด็กสามารถเรียนรู้รูปทรงเรขาคณิตอะไรบ้างจากภาพนั้นๆ



























   หลังจากกิจกรรมที่ 1เสร็จแล้ว กิจกรรมที่ 2อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ทำสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น สาระการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ (การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย) 

ตัวอย่างแผนภูมิ (สำหรับเด็กปฐมวัย)


ตัวอย่าง แผนภูมิแบบที่ 1
ตัวอย่าง แผนภูมิแบบที่ 2 (เป็นตารางแบบสำรวจ)
ตัวอย่าง แผนภูมิแบบที่ 3
     แผนภูมิมี 3แบบ ซึ่งกลุ่มดิฉันจับได้แผนภูมิแบบที่ 2 จึงเลือกทำแบบสำรวจสีที่หนูชอบ สีที่จะสำรวจเด็กๆมี 5สี ได้แก่ สีเขียว,สีเหลือง,สีชมพู,สีฟ้า,สีส้ม


แผนภูมิแบบที่ 2 สำรวจสีที่หนูชอบ
แผนภูมิของกลุ่มอื่น

แผนภูมิแบบที่ 1 การแยกประเภท (สัตว์บก-สัตว์น้ำ)

แผนภูมิแบบที่ 3 การเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง 

(เครื่องบิน กับ เรือ)
    
การนำแผนภูมิทั้ง 3 แบบ มาสอน(ก่อนจะนำไปสอนกับเด็ก)

แผนภูมิแบบที่ 1
     ถามเด็กๆ รู้จักสัตว์บก-สัตว์น้ำไหม และให้เขาบอกชื่อสัตว์นั้นๆมาว่าเป็นสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ และคุณครูก็เขียนชื่อสัตว์ลงไปในช่องที่ถูกต้อง
สรุป : สัตว์บก ได้แก่ ไก่ สุนัข แรด แมว เสือดาว
           สัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาดาว ปลาไหล ปลา ปลิง หอย ปะการัง

แผนภูมิแบบที่ 2
    คุณครูเตรียมดินสอสีหรือสีเมจิกไว้ และให้เด็กๆทุกคนในห้องออกมาต่อแถวอย่างมีระเบียบ เขียนชื่อเล่นตนเองลงไปในช่องสีที่ตนเองชอบ
แผนภูมิแบบที่ 2 สำรวจสีที่หนูชอบ
สรุป : สีที่หนูชอบมากที่สุด คือ สีชมพู จำนวน 5 คน
          สีที่หนูชอบน้อยที่สุด คือ สีเขียว จำนวน 2 คน

แผนภูมิแบบที่ 3
     ถามเด็กๆ รู้จักเครื่องบินกับเรือไหม ถามพวกเขาถึงความเหมือนและความแตกต่างของเครื่องบินกับเรือ เช่น เครื่องบินอยู่บนฟ้าส่วนเรืออยู่ในน้ำ ให้เด็กตอบอย่างอิสระ เมื่อเด็กตอบคุณครูก็เขียนสิ่งนั้นลงไปในช่องซ้ายและขวา แต่ถ้าตอบสิ่งที่เหมือนกันเขียนลงไปตรงกลางวงกลม
แผนภูมิแบบที่ 3 การเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง 
(เครื่องบิน กับ เรือ)
สรุป : เด็กเปรียบเทียบความต่างของเครื่องบินกับเรือ
  • เครื่องบินอยู่บนท้องฟ้า ระหว่างที่ เรืออยู่ในน้ำ
  • เครื่องบินมีปีก ระหว่างที่ เรือมีสมอ
  • เครื่องบินมีล้อ ระหว่างที่ เรือมีห่วงยาง
  • เครื่องบินมีแอร์โฮสเตสระหว่างที่ เรือไม่มีแอร์โฮสเตส

           เด็กเปรียบเทียบความเหมือนของเครื่องบินกับเรือ
  • เครื่องบินกับเรือเป็นยานพาหนะเหมือนกัน
  • เครื่องบินกับเรือมีประตูเหมือนกัน
  • เครื่องบินกับเรือใช้น้ำมันเหมือนกัน
  • เครื่องบินกับเรือมีกัปตันเหมือนกัน
  • เครื่องบินกับเรือมีใบพัดเหมือนกัน
  • เครื่องบินกับเรือมีชูชีพเหมือนกัน
การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำไปประกอบการเรียนการสอนให้เด็กนำรูปเรขาคณิตมาสร้างสรรค์เป็นรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการของเขา หรือเราสามารถดัดแปลงการสอนเป็นแบบนิทานหุ่นนิ้วก็ได้ ส่วนเรื่องแผนภูมิ การเรียนการสอนนี้เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล 3 ควรเลือกเรื่องที่เด็กเข้าใจง่าย สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ไม่ลึกหรือยากเกินไป